กระบี่ - กระบอง มีคุณประโยชน์แก่ผู้เล่นเป็นเอนกประการสรุปรวมได้เป็น 5 ข้อ ดังนี้ คือ
1. เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้และป้องกันตัว
กระบี่ - กระบองนี้เป็นวิชาที่รู้ไว้เพื่อใช้ต่อสู้ป้องกันตัวในยามคับขัน เมื่อมีศัตรูทำร้ายเราเราก็สามารถใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาป้องกันตัวได้ เป็นการผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือแทนที่จะเจ็บตัวเล็กน้อยก็ไม่เป็นอันตรายเลย ผู้ที่เป็นกระบี่ - กระบองต้องได้เปรียบผู้ไม่เป็นแน่ๆ มิฉะนั้นวิชานี้คงจะล้มเลิกไปจนไม่มีให้เห็นในปัจจุบันเป็นแน่แท้
2. กระบี่ - กระบองเ ป็นพลศึกษา
การฝึกกระบี่ - กระบองเป็นพลศึกษาที่ดียิ่ง เมื่อได้ฝึกวิชานี้แล้วทุกส่วนของร่างกายจะได้รับการบริหารอย่างทั่วถึง นอกจากส่วนต่างๆของร่างกายได้รับการพัฒนาแล้ว ความสนุกสนานจากการฝึกยังจะก่อให้เกิดความร่าเรีงบันเทิงใจเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจด้วย ตลอดทั้งการฝึกฝนยังใช้อุปกรณ์น้อย ไม่สิ้นเปลืองเงินมากสำหรับสถานที่ฝึกก็หาได้ง่าย
3. กระบี่ - กระบอง เป็นกีฬาที่ฝึกน้ำใจ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกกระบี่ - กระบอง จะได้ผู้ที่มีจิตใจดีเลิศและก่อให้เกิดความกล้าหาญทรหดอดทน ไม่หวาดเกรงหรือหวาดกลัวต่ออันตรายที่จะต่อสู้ซึ่งๆหน้า อันวิชาการต่อสู้นั้นเปรียบประดุจมีดดสองคม ถ้าใช้ทางดีมีแต่คุณ ถ้าใช้ในทางไม่ดีย่อมมีโทษ ครู - อาจารย์มักจะอบรมมิให้นำวิชานี้ไปใช้ในทางที่ผิด พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม นิสัยและฝุงน้ำใจให้แก่ศิษย์ควบคู่กับการฝึกวิชาอาวุธ เช่นฝึกให้เป็นคนไม่เห็นแก่ตัว รักเพื่อนรักความยุติธรรม เป็นต้น
4. การเล่นกระบี่ - กระบอง เป็นการเพิ่มพูลสมรรถภาพของร่างกาย
เป็นการฝึกให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เคลื่อนไหวเกิดความเข้มแข็งว่องไวฝึกสมองให้คิดและตัดสินใจสั่งอวัยวะอื่นๆให้ทำงาน ตากับหูไว ส่วนแขนขา มือเท้าต้องพร้อมที่จะรุกหรือถอยได้อย่างรวดเร็วตามคำสั่งของสมอง นับว่าวิชากระบี่ - กระบองช่วยให้อวัยวะส่วนต่างๆได้ฝึกไว้ใช้การอย่างคล่องแคล่วอยู่เสมอ
5. กระบี่ - กระบอง เป็นศิลปะประจำชาติไทย
วิชาที่เกียวกับการต่อสู้และป้องกันตัว เมื่อเป็นของชาติใดชาตินั้นก็ย่อมจะนิยมชมชอบและยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติเขาซึ่งพยามสงวนและเอาไว้อวดชาวต่างชาติ กระบี่ - กระบองของไทยก็เป็นศิลปะประจำชาติ การร่ายรำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนาฏศิลป์ไทยก็รวมอยู่ในวิชานี้ด้วย ซึ่งนับว่าศิลปะประจำชาติไทย กระบี่ - กระบองนี้ ได้มีประโยชน์ในการเผยแพร่ชื่อเสียงประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักแก่นาๆประเทศด้วย
1. สนาม
สนามแสดงกระบี่ - กระบอง ควรเป็นสนามหญ้า หรือสนามดิน ความกว้างประมาณ 8 X 16 เมตร ควรจะมีเส้นหรืแชอกแสดงเขตแดนที่แสดงเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับท่านผู้ชมการแสดง
อ่านเพิ่มเติม
เริ่มต้นกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบได้แน่ชัดว่า เริ่มกันมาตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นเพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่งใดได้ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ ไม่เคยเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยในอันที่จะสั่งสอนในทางทฤษฏีเลย